ชีววิทยาคืออะไร

ชีววิทยาคืออะไร สาระสำคัญ ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาชีวภาพ (Biologicalscience) ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่มีการศึกษาถึงความคิดและเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จนเป็นความรู้ ทฤษฎี และกฎต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตมากมาย แตกแขนง ออกเป็นสาขา วิชาต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อมนุษย์เราจะมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศน์และในโลกของ สิ่งมีชีวิตได้อย่างยืนยาว
ชีววิทยา (Biology) ชีววิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Biology" ซึ่งรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Bios(ไบออส) หมายถึงสิ่งมีชีวิต (Life) และ Logos(โลกอส) หมายถึงการมีเหตุผล (reasoning) หรือความคิดดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงหมายถึงการศึกษาทางธรรมชาติ และกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผลทำให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและตัวของมนุษย์ที่ร่วมระบบนิเวศเดียวกัน การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เราจะต้องเข้าใจคุณสมบัติ หรือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต (Natural of life )
สิ่ง มีชีวิตมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างไปจากสิ่งไม่มีชีวิต ดังนี้ (Biology) สิ่งมีชีวิตสืบพันธุ์ได้ การสืบพันธุ์เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่จะให้ลูกหลานดำรงเผ่าพันธุ์ สืบเนื่องต่อไป การ สืบพันธุ์อาจจะสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ หรือโดยไม่อาศัยเพศก็ตาม สามารถถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานที่เกิด ขึ้น หน่วยที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ยีน (gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมภายในนิวเคลียสของเซล ดังนั้น การสืบพันธุ์ เป็นกิจกรรมขั้นสุดยอดของสิ่งมีชีวิต ที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเอง ให้ยั่งยืนและอยู่รอดในระบบนิเวศ
1. สิ่งมีชีวิตมีขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ขบวนการเมตตาโบลิซึม (metabolism) ซึ่งก่อให้เกิดพลังงานและการสังเคราะห์สารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีพ เช่นขบวนการหายใจระดับเซลล์ หรือ ขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือการสังเคราะห์พลังงาน และระบบการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นเชื้อไวรัส ต้องอาศัยพลังงานจากเซลของสิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งมีชีวิตต้องเจริญเติบโต การเจริญเติบโตต้องประกอบด้วยการ แบ่งเซลล์ การขยายขนาดของเซล และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์
2. สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวได้ การเคลื่อนไหวเกิดจากการใช้พลังงาน ภายในเซลของร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ไปกระตุ้น ให้กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเกิดการทำงาน
3. สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ คือสามารถตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆที่มากระทบหรือกระตุ้นการตอบสนองเป็นพฤติกรรม ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมแต่ละแห่ง
4. สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เมื่อสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัวของสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตจะต้องมีการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพสิ่งแวดล้อมนั้น โดยมีการปรับตัว 3 ลักษณะ คือ การปรับโครงสร้างรูปร่างส่วน ประกอบของร่างกาย การปรับพฤติกรรม และการปรับกลไกการทำงานของร่างกายหรือการทำงานของเซลล์
5. สิ่งมีชีวิตต้องมีการจัดระบบการทำงานภายในเซลล์หรือในร่างกายอย่างมีระบบ เช่น ในเซลล์จะมีออร์แกแนลต่างๆทำหน้าที่ เสมือนอวัยวะของร่างกายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายซับซ้อน ก็จะมีกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เรียกว่า เนื้อเยื่อ (Tissue) กลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (Organ) อวัยวะชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกันทำงานร่วมกัน เรียกว่าระบบ (System) ระบบหลายระบบทำงานร่วมกันจะเป็นร่างกาย (Body) เช่นระบบทางเดินอาหาร จะประกอบด้วยอวัยวะ ต่าง ๆ มากมาย เช่น ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ทวารหนัก จะเห็นว่า การทำงานของร่างกาย สิ่งมีชีวิต จะมีการจัดระบบตั้งแต่ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระบบต่าง ๆ วิชา
ชีววิทยา จะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ขั้นตอนการศึกษา ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษา (Process) ที่นักชีววิทยาใช้ในการศึกษา เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตตามขั้นตอน คือ การสังเกต การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การตรวจสอบสมติฐาน การแปลผลและการสรุปผลดังที่กล่าวมาแล้วสิ่งที่ได้มาจากกระบวนการศึกษาเกิด เป็นความรู้ (Knowlege) ซึ่งอาจจะประกอบด้วย ! ข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งและสิ่งที่ได้จากการสังเกตหรือรับรู้ ! ข้อเท็จจริง (Fact) สิ่งที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ ! ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปหาความสัมพันธ์ของข้อมูลตามเหตุและผลต่อกัน ! กฎ (Law) เป็นความจริงหลักที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล ! ทฤษฎี (Theory) เป็นสมมติฐานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วหลาย ๆ ครั้ง จนเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการศึกษาสิ่งมีชีวิต ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ที่นักชีววิทยาได้รวบรวมบันทึกไว้ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง กฏ หลักเกณฑ์ ข้อสรุป และทฤษฎี เพื่อ ใช้อธิบายสภาพทางธรรมชาติ กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต โดยมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ! เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตลอดจนเรื่องราวภายในตัวของมนุษย์เองด้วย ! เพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ และการแก้ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ได้ดำรงชีพอยู่ อย่างราบรื่น เช่นนำมาใช้ทางการแพทย์การเกษตรการอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม
การศึกษาชีววิทยาจำแนกออกเป็นแขนงต่างๆมากมายโดยจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 กลุ่ม คือ
1.จำแนกตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต1) พฤกษศาสตร์ หรือ พฤกษวิทยา (Botany)
2) สัตวศาสตร์ หรือ สัตววิทยา (Zoology)
2. จำแนกตามวิธีการของการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิต1) ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย
2) ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตเป็นหมู่เป็นเหล่าสัมพันธ์กัน
จำแนกตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ1. พฤกษศาสตร์ หรือ พฤกษวิทยา (Botany)
2. สัตวศาสตร์ หรือ สัตววิทยา (Zoology)ศึกษาเกี่ยวกับพืช ซึ่งยังแยกออกเป็น กลุ่มย่อย ๆ ได้อีกมากมายเช่นตฤณวิทยา (Agrostology) ศึกษาเกี่ยวกับหญ้า
ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งแยกออกเป็น.กลุ่มย่อย ๆ ได้อีกมากมาย เช่น สังขวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับหอย มีนวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับปลา ปักษีวิทยาศึกษาเกี่ยวกับนก เป็นต้นจำแนกตามวิธีการของการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิต จำแนกได้ 2 กลุ่มคือ- สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาเกี่ยวกับ รูปร่าง ลักษณะและโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิตทั้งภายในและภายนอก ยังจำแนก ย่อยลงไปได้อีกคือ- สรีรวิทยา (Physiology) ศึกษาเกี่ยวกับ หน้าที่และ การทำงาน ของระบบต่างๆ ภายใน สิ่งมีชีวิตก. กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ศึกษา เกี่ยวกับ โครงสร้าง ได้แก่ กระดูกและกล้ามเนื้อ โครงสร้าง ของ ระบบต่าง ๆข. เซลล์วิทยา (Cytology) ศึกษาเกี่ยวกับ เซลล์ค. มิชญวิทยา (Histology) ศึกษาเกี่ยวกับ เนื้อเยื่อ
- คัพภวิทยา (Embryology) ศึกษาเกี่ยวกับ การ เจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงขั้นต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย
- อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาเกี่ยวกับการจัด หมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต- นิเวศน์วิทยา (Ecology) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิตและ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. - ชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) ศึกษา เกี่ยวกับ การกระจายพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตไปตามเขต ภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของโลก- พันธุศาสตร์ (Genetics) ศึกษาเกี่ยวกับ การถ่ายทอด ลักษณะต่าง ๆ ของ สิ่งมีชีวิตจาก บรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน และ ปัจจัยในการควบคุม ลักษณะความคล้ายคลึง และความแตกต่าง ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ- วิวัฒนาการ (Evolution) ศึกษาเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการเจริญเติบโต ของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึง ปัจจุบันว่ามี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น