วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ธรณีวิทยา

ธรณีวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์

ธรณีวิทยา(Geology)

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000
จากเว็บไซต์ : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
ธรณีวิทยาคืออะไร

              ธรณีวิทยา "GEOLOGY" มาจากภาษากรีก คือ "GEO" หมายถึง โลก และ "LOGOS" หมายถึง การบรรยาย รวมความแล้ว ธรณีวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาทางกายภาพและโครงสร้างของโลก ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


โดย ทั่วไปการศึกษาธรณีวิทยาจะเน้นหนักเกี่ยวกับหินและแร่ ตลอดจนกระบวนการที่กระทำต่อหินและแร่ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าธรณีวิทยาเป็นวิชาที่เกี่ยวกับหินและแร่เท่านั้น แต่โดยความจริงแล้ว ธรณีวิทยามีเนื้อหาที่กว้างมาก มีความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ทางชีววิทยาจะเกี่ยวข้องกับการศึกษา ซากดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติ ทางสาขาเคมีจะนำไปใช้ในการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของหินและแร่ ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เป็นต้น Spiker (1972) ได้ให้คำนิยามว่า "วิทยา ศาสตร์พื้นฐานควรเป็นวิชาที่ครอบคลุมปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติอย่างกว้างขวาง มีความแตกต่างจากวิชาอื่น และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง รวมทั้งต้องเป็นศูนย์กลางของสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง" จากนิยามนี้จะเห็นว่า "ธรณีวิทยา" มีความเหมาะสมที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

นัก วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง คือ "ชาร์ล ดาร์วิน" ได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่อมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาซากบรรพชีวินที่อยู่ในหิน นักสมุทรศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับกระแสน้ำซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งที่ อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน กระแสน้ำอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพอากาศและภูมิอากาศ จะเห็นว่าศาสตร์ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และนักธรณีวิทยายังศึกษาเกี่ยวกับหิมะและธารน้ำแข็ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับศาสตร์ทั้งสองข้างต้น วิศวกรจะศึกษาตะกอนที่เกิดจากการทับถม เพื่อเข้าใจถึงคุณสมบัติของตะกอน ถ้าเราศึกษาเกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่า "เปลือกโลก" (crust) จะพบว่าเป็นส่วนที่บางมาก หรือเราอาจสงสัยว่าอะไรรองรับภูเขาหรือเทือกเขา และเราอาจประหลาดใจที่ทราบว่าผู้ให้คำตอบนี้ คือ นายพันเอกเอเวอร์เรสต์ และทีมงานสำรวจการทำแผนที่ของอินเดีย ดังนั้นจะเห็นว่า วิชาธรณีวิทยา เป็นการศึกษาร่วมกับอีกหลายๆ สาขาวิชา

คำถามว่า เราศึกษาธรณีวิทยาทำไม? ก็คงมีหลายเหตุผลด้วยกัน เช่น เพราะต้องการใช้เป็นวิชาชีพ หรือสำหรับบางคนก็เพื่อที่จะทราบความเป็นไปเกี่ยวกับโลกที่เขาอาศัยอยู่ หรืออาจเหมือนกับอีกหลายๆ คน ที่ต้องการศึกษาเพราะสนใจสภาพธรณีวิทยาของประเทศ เพื่อทำให้การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากขึ้น

            ดังนั้นวิชาธรณีวิทยาทั่วไป จึงพยายามเน้นถึงความคิดพื้นฐาน และหลักการทางธรณีวิทยามากกว่าที่จะพูดถึงรายละเอียดหรือเจาะจงลงไป จะพิจารณาถึงธรณีประวัติของโลกที่อยู่รอบตัวเรา กระบวนการต่างๆ (process) ที่ทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่างๆ รวมทั้งอิทธิพลที่มีต่อความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ นักศึกษาส่วนมากเคยเรียนเรื่องราวเกี่ยวกับธรณีวิทยาในระดับชั้นมัธยม ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
 
รณีวิทยา (อังกฤษ: Geology ) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิววิวัฒนาการของสิ่งมี ชีวิต ตลอดจนรูปแบบและวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีก ด้วย

นักธรณีวิทยาศึกษา พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม

วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

วิชา ธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น
 
วิชาธรณีวิทยาสามารถตอบปัญหาต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของ โลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร์
 
ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ศึกษา ค้นคว้าด้านธรณีวิทยาหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น กรมทรัพยากรธรณี

กรม ทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีการทำงานและการศึกษาด้านธรณีวิทยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) นับจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 117 ปีแล้ว และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 75/10 ถนนพระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
 
 โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย

                ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ(Folded Belt) และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน(Faulte) และมีการแทรกซ้อนของหินแกรนิต ตามช่องว่าง ต่อมาบริเวณรอยคดโค้งเหล่านั้น ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงกดดันทำให้ชิ้นหินบางส่วนกลายเป็นหินแกรนิต เขตทิวเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นภูเขาที่ประกอบด้วยหินชั้นและหินแปรที่เป็นแบบโครงสร้างคดโค้ง (Folded Belt)ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิก 
(Palaozoie) ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินทราย และชั้นหินดินดานของมหายุค พาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) ส่วนบริเวณตามขอบตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช และทิวเขา ภาคตะวันออกจะมีชั้นหินที่มีโครงสร้างโค้งงอ ของมหายุคพาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นแอ่งแผ่นดิน ( Basin ) ขนาดใหญ่เป็นที่สะสมของ ชั้นตะกอน อายุอ่อนคือ ชั้นหินมหายุคซีโนโซอิค ( Cenozoic ) ซึ่งประกอบด้วยชั้นตะกอนของยุคเทอร์เชียรี ( Tertiary ) และตอนบนของชั้นตะกอนเหล่านี้จะถูกปกคลุมทับถมด้วยตะกอน กรวด หิน ของยุคควอเตอร์นารี
( Quaternary )
 
ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
                  ถ้า พิจารณาจากแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของไทยจะเห็นว่า ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขตดังนี้คือ

                   1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้มีลักษณะเป็นทิวเขาภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขามีความสูงชันจากบริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อยๆลาดต่ำลงมาสู่ที่ราบต่ำบริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางแล้วค่อยๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือในเขต จ.น่านคือแถบเทือกเขา หลวงพระบาง บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้และลงสู่ลุ่มน้ำสาละวินทาง ตะวันตก หุบเขาและแอ่งแผ่นดินที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านจะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่ น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานทำให้กลายเป็น แหล่งชุมชนสำคัญของภาค

                  2.เขตที่ราบภาคกลางที่ราบภาคกลางได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมาจากที่สูงโดย รอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ตอนใต้ของภาค ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่งหรือที่เคยเป็นเกาะมาก่อนสันนิษฐานว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาคกลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลงประกอบ กับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลายสายซึ่งมีทั้งการกัดเซาะสึกกร่อนและทับถม พอกพูน จึงทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของ ประเทศ

                3.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตกลักษณะของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขาหุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือและที่ราบไม่กว้างขวางเหมือน ภาคกลาง ภูมิประเทศของเขตนี้ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทางภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาค ใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขาจาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือมายังตะวันออกเฉียงใต้            

               4.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออกลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบลุ่มแม่ น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลางและมีที่ราบชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้นๆไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งและเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วย ป่าไม้และหาดทรายสวยงาม

              5.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ลักษณะแยก จากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัดทั้งนี้เพราะการยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตกและด้านใต้ทำให้เกิดขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวัน ตก ส่วนทางด้านใต้ก็เป็นขอบสูงชันตามแนวทิวเขาสันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพานทอด โค้งยาวค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพานไปทางเหนือมีแอ่งทรุดต่ำของแผ่นดินเรียกว่า แอ่งสกลนคร ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น พื้นที่ราบสูงจะยกตัวสูงทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียงไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก

              6.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้านคืออ่าวไทยทางด้านตะวันออกและ ทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเลที่ลาดลงสู่ทะเล ทั้งสองด้านโดยที่ราบด้านชายฝั่งตะวันออกกว้างขวาง กว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบและยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก
 
ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly)

ทฤษฎี นี้เกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่19 จากการศึกษาแผนที่โลกของฟรานซิสเบคอน(Francis Bacon)โดยคาดเดาว่า ทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาหากดันเข้ามาประกอบกัน สามารถเชื่อมต่อกันได้พอดี ต่อมาในปี ค.ศ.1915 อัลเฟรด
เวเก เนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีทวีปเลื่อนว่า เมื่อประมาณ 200 – 300 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินทั้งหมดในโลกรวมเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า “แพงเจีย” (Pangaea : แปลว่า ผืนแผ่นดินเดียวกัน) ซึ่ง ประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้แอฟริกาออสเตรเลียอินเดีย และหมู่เกาะมาดากัสการ์ มากล่าวไว้ โดยกล่าวว่า ในยุคไตรแอสสิก ทวีปที่เดิมเป็นผืนแผ่นเดียวกันจะเริ่มค่อยๆมีการแยกตัวออกจากกัน โดยทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จะค่อย ๆแยกจากทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรปจึงทำให้ขนาดของมหาสมุทรแอตแลนติกกว้างยิ่งขึ้นเราเรียกการ เคลื่อนไหวดังกล่าวว่า“ทวีปเลื่อน” (Continental Drift) และทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปี ค.ศ.1960จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวถึงการที่ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ รวมเป็นแผ่นเดียวกันเรียก ว่า “แผ่นอเมริกา” และมักพบว่าส่วนบริเวณที่เป็นขอบของแผ่นทวีป เช่น แผ่นทวีปแปซิฟิกจะพบแนวการเกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวอยู่เสมอเนื่องจากการ เคลื่อนที่ของแผ่นทวีป(Plate) อยู่ตลอดเวลาสันนิษฐานว่าการเคลื่อนที่ของหินหลอมละลายและกระบวนการพาความ ร้อนภายในโลก เนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความหนาแน่นทำให้เกิดการหมุนเวียนและ แนวความคิดที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์ได้แก่ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทะเล(Sea Floor Spreading Theory) ที่ กล่าวว่า พื้นท้องมหาสมุทรมีการแยกตัวตามแกนของระบบเทือกเขาทั่วโลก ส่วนของเปลือกโลกที่แยกจะมีการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆ 2ด้านทำให้เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการแยกตัวจากกันของทวีปอเมริกาเหนือและได้แยกออกจาก ทวีปยุโรปและแอฟริกา และพบว่าบริเวณแนวเทือกเขากลางมหาสมุทรเป็นรอยแยกของเปลือกโลกที่มีการถ่าย เทความร้อนจากภายใต้เปลือกโลกมายังพื้นผิว รวมทั้งมวลหินหลอมเหลวที่ทำให้เกิดการแยกตัวของพื้นทะเลขึ้น (Sea Floor Spreading) บริเวณรอยแยกของเปลือกโลกใต้ท้องมหาสมุทรมีลักษณะโค้ง และถูกขนาบด้วยหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic Island Arc) ซึ่งเป็นแนวร่องยาวและแคบ โดยมากพบในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น ร่องลึกมาเรียนาโดยจากหลักฐานการเจาะสำรวจทะเลลึกในปี ค.ศ.1968พบว่าการทับถมของตะกอนบริเวณท้องทะเล สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของพื้นทะเล และจากอายุของชั้นตะกอนเหล่านี้แตกต่างกันตามช่วงระยะเวลา คือตะกอนที่อยู่ห่างจากแนวสันเขากลางมหาสมุทร (Mid Ocean Ridge) มีอายุมากขึ้นตามลำดับ โดยตะกอนที่มีอายุมากที่สุดพบใกล้ของทวีป นอกจากทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทะเล (Sea Floor Spreading Theory)ที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theory) ยังมีหลักฐานสนับสนุนอื่นๆ อีก เช่น หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบบริเวณสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ฝั่งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาใต้มีลักษณะคล้ายกัน โดยมีช่วงอายุเวลาเดียวกัน หลักฐานทางด้านโครงสร้างทางด้านธรณีวิทยาและชนิดของหิน เป็นชนิดเดียวกัน ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร ที่นำมาต่อกันได้ ทั้งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาใต้ได้แก่ชนิดหิน คิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดเพชร
 


การเกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อน
 
ผลกระทบถ้าหากมีการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะแกงซึ่งศึกษาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1914 โดย Brown และ Leicester
 
 
edit @ 29 May 2011 23:26:50 by รุ่งฟ้า คูคงสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น