วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บัคเตรีวิทยา

บัคเตรีวิทยา (Bacteriology)

บัคเตรีวิทยา
( Bacteriology )
บักเตรี ( Bacteriology ) อยู่ใน Phylum Monera , Division Schizomycophyta เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชเซลล์เดียว ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ต้องมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ จึงจะแลเห็นได้ ที่จัดว่าแบคทีเรียเป็นพืชเพราะมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายคลึงกับพืช ดังนี้
. ความสามารถในการสังเคราะห์แสง ( Synthetic Capacity ) โดยบักเตรีพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระ สามารถสร้างสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น คาร์โบไฮเดรต หรือ โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในโปรโตพลาสซึมของเซลล์ได้ ส่วนสารที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ มีหลายชนิด คือ คาร์บอนไดออกไชด์ แอมโมเนีย ฯลฯ บัคเตรี ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้จะมีโครงสร้างที่เรียกว่า โครมาโทฟอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดหรือเป็นแผ่น และมีรงควัตถุช่วยในการสังเคราะห์แสง
. การนำอาหารเข้าสู่เซลล์ ( Food Pnetration ) บัคเตรีนำอาหารเข้าสู่เซลล์ในรูปของสารละลายเช่นเดียวกับพืช
. การแบ่งเซลล์แบบ binary fission ( แบ่งเซลล์จาก ๑ เป็น ๒ ) ซึ่งเซลล์จะแยกจากกันในแนวขวางส่วนเซลล์สัตว์จะแยกออกในแนวยาว
. บัคเตรีส่วนมากมีผนังเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
องค์ประกอบทางเคมี
บัคเตรีแต่ละชนิด ประกอบด้วยเซลล์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิต ดังนี้
. โปรโตพลาสซึม ( protoplasm ) อยู่ภายใน ล้อมรอบด้วยเซลล์เมมเบรน ( cellmembran ) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดบางครั้งเมื่อแบ่งเซลล์จะม้วนตัวและจะหุ้มกันเป็นโครงสร้าง เรียกว่า mesosome นอกจากนี้จะมีผนังเซลล์ซึ่งไม่มีเซลลูโลสห่อหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะเหมือนร่างแห ทำให้เซลล์มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และคงรูปร่างได้ดี ส่วนไซโตพลาสซึม ( cytoplasm )เป็นของเหลวใสไม่มีสีมีความหนืดคล้ายข่ขาว จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีพบว่า ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน ( ลิปิด ) ,คาร์โบไฮเดรต ( โพลีแซกคาไรด์ ) เกลือแร่ กรดอะมิโน วิตามิน B1 B2 B6 กรดนิวคลีอิค และรงควัตถุ ซึ่งสามารถนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้
. โครโมโซม ( Chro mosome ) ซึ่งมักจะปรากฏเป็นบริเวณที่มีสีจาง ๆ ประกอบด้วย DNA แต่ไม่มีโปรตีน มีรูปร่างเป็นวง มีไรโบโซมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ นาโมเมตร จำนวน ๒,๐๐๐ -
,๐๐๐ ไรโบโซม ประกอบด้วย RNA และโปรตีนทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน
โครงสร้างของบัคเตรี
จากการศึกษาโครงสร้างของบัคเตรีด้วยวิธีการต่าง ๆทำให้ทราบว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง โครงสร้างบางชนิดมีเฉพาะในบัคเตรีพวกหนึ่ง ๆ เท่านั้น สำหรับโครงสร้างต่าง ๆ พบว่าบัคเตรีมีรูปร่างได้หลายรูปแบบ เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปทรงกระบอก หรือเป็นเกลียว แต่โดยทั่วไปแล้วจัดแบ่งบัคเตรีตามลักษณะรูปร่างดังนี้
. ทรงกลม ( Coccus ) เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ อาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ เช่น Micrococcus หรืออยู่เป็นกลุ่ม เช่น Staphylococcus หรือต่อกันเป็นลูกโซ่ เช่น Streptococcus หรือเรียงกันเป็นคู่ เช่น Diplococcus หรือเซลล์เรียงเป็นกลุ่มของ ได้แก่ Sarcina มีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยทั่วไปประมาณ .๕ - ๑.๐ ไมครอน
. ทรงกระบอกหรือพวกบะซิลลัส ( Bacillus ) เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างท่อน อาจอยู่เป็นท่อนเดี่ยว ๆ หรือต่อกันเป็นสาย เช่น Escherichia coli และ Aerobacter บางชนิดอาจเป็นท่อนยาวต่อกันเป็นสายเช่น Sphaerotilus โดยทั่วไปมีความกว้าง ๐.๕ - ๑.๐ ไมครอน ความยาว ๑.- .๕ ไมครอน
. รูปร่างแบบแท่งแต่โค้งงอ มี ประเภท คือ พวกที่โค้งงอและเซลล์จะคงรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง เป็นแบบเกลียว คือ Spirillum ส่วนที่โค้งงอแต่เซลล์ ยืดหยุ่น ได้ไม่คงรูปแบบเดิม เช่น Spirochere และพวกที่โค้งคล้ายจุดลูกน้ำ เช่น Comma
การเรียงตัวของเซลล์
บัคเตรีมีการเรียงตัวของเซลล์หลายแบบ
. การเรียงเซลล์ต่อกันเป็นสาย บางชนิดมีปลอกหุ้มสายด้วย เช่น บัคเตรีที่เคลื่อนที่โดยการลื่นไถล ได้แก่ Sphaerotilus
. บัคเตรีที่มีรูปร่างกลมหรือรีเล็กน้อย ( Coccus ) มักมีการเรียงตัวที่มีแบบแผนแน่นอน พอที่จะใช้เป็นลักษณะประจำของมันได้ เช่น อยู่เป็นเซลล์เดียวเรียกว่า Micrococcus ถ้าเซลล์เรียงกันเป็นคู่เรียกว่า
Diplococcus เซลล์ต่อกันเป็นสายยาวเรียกว่า Streptococcus เซลล์เรียงกันเป็นกลุ่มของแปดเรียกว่า Sarcina เซลล์เรียงกันเป็นกลุ่ม รูปร่างไม่แน่นอนและจำนวนเซลล์ไม่จำกัด เรียกว่า Sraphylococcus
วิธีการเคลื่อนที่
บัคเตรีบางกลุ่มไม่เคลื่อนที่บางกลุ่มเคลื่อนที่โดยการลื่นไถล บางกลุ่มเคลื่อนที่โดยใช้ แฟลกเจลลัม และบางกลุ่มเคลื่อนที่โดยการบิดไปตามแกน

วิธีการสืบพันธุ์

บัคเตรี มีพบแพร่กระจายทั่วไปในดิน น้ำและอากาศ สามารถดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ได้ทั้ง
ภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ที่มีชีวิต การแพร่พันธุ์ก็ทำได้โดย การแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปดไปเรื่อย ๆ ที่เรียกว่า Binary Fission เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อแบคทีเรียอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับการกระตุ้นทางเคมีและฟิสิกส์ จะสามารถสร้างเอนโดสปอร์ ( Endospore ) ขึ้นภายในเซลล์ โดยทั่วไปเซลล์หนึ่งจะสร้างเอนโดสปอร์เพียงหนึ่งสปอร์เท่านั้น ดังนั้น เอน โดสปอร์บัคเตรีจึงไม่ได้ช่วยในการขยายพันธุ์ เหมือนสปอร์ของราหรือพืชทั่วไป แต่บัคเตรีสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ปกติบัคเตรีจะแบ่งตัวได้ดีที่อุณหภูมิร่างกาย ๓๗ องศา C
การดำรงชีวิต บัคเตรีอยู่ได้ทุกหนทุกแห่งทั้งบนบก ในน้ำ ในอากาศ บัคเตรีบางชนิดทนต่อความร้อนได้มาก ขนาดอุณหภูมิความร้อนของน้ำเดือดคือ ๒๑๒ องศา F ก็อยู่ได้ บางชนิดทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ ขนาด - ๕๐.๗ องศา F ได้ ส่วนในการหายใจนั้น บัคเตรีบางชนิดอาศัยออกซิเจนในการหายใจ บัคเตรีพวกนี้เรียกว่า Aerobic bacteria บางชนิดไม่ใช้ออกซิเจน เรียกว่าบัคเตรีพวกนี้ว่า Anaerobic bacteria ส่วนบัคเตรีที่หายใจได้ทั้งแบบใชิออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน เรียกว่า Facultative Aerobic bacteria
ประโยชน์ของบัคเตรี
บัคเตรีหลายชนิดให้ประโยชน์กับคน ประโยชน์ที่ได้รับจากบัคเตรีมีหลายอย่าง ที่สำคัญคือ
. ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างอย่าง เช่น ทำเนยแข็ง ทำกรดน้ำส้มจากน้ำผลไม้ ฟอกหนัง บ่มใบ ยาสบู่ ฟอกใยป่านลินิน ทำปฏิชีวนะ สารทำวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ บาดทะยัก ฯลฯ
. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของน้ำครำให้หมดไป เอาน้ำสะอาดไปใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ส่วนกากที่เหลือเมื่อกำจัดกลิ่นเหม็นและทำให้แห้งแล้ว ใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก ทำก๊าซมีเทน
. บัคเตรีที่อยู่ในรากของพืชตระกูลถั่ว ดูดก๊าชไนโตรเจนในอากาศมาเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนเตรตและไนไตรด์ซึ่งเป็นอาหารของพืช
. บัคเตรีที่อยู่ในลำไส้ และกระเพาะของคนกับของสัตว์ช่วยในการย่อยอาหารหรือทำให้กากอาหารเล็กลง เพื่อความสะดวกในการถ่าย
. บัคเตรีบางชนิดช่วยย่อยซากของพืชและสัตว์ที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกพืชได้ผลดี
. นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้เซลล์แบคทีเรียที่เรียกว่า Biocell มาเปลี่ยนสภาวะเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยตรงเปรียบเหมือนแบตเตอรี่ ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในวิทยุเพื่อเป็นสัญญาณในการนำร่องหรือใช้เป็นแสงสว่าง
. ใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยใช้เซลล์แบคทีเรียชื่อ E. coil ซึ่งอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคนและช่วยย่อยกากอาหาร ให้ไปเจริญในลำไส้ใหญ่ของคนที่เป็นโรคเบาหวาน และกระตุ้นให้แบคทีเรียสร้างโปรตีนขึ้นมา นำมาใช้ควบคุมให้สร้างฮอร์โมนอินซูลินด้วย
. แบคทีเรีย ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีการฉีดสารชนิดหนึ่งซึ่งสกัดมาจากตับสามารถช่วยรักษาโรคได้
. ใช้ในการผลิตยาปฏิชีวนะ ชื่อ คลอแรมพินิคอล
๑๐. ใช้แบคทีเรีย ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ใช้ได้ดีที่สุด คือ แมลงที่ทำลายผักกาดหอม
บัคเตรีบางชนิดเป็นเชื้อโรค ทำให้เกิดโรคแก่มนุษย์ สัตว์และพืช โรคที่เกิดจากบัคเตรีที่สำคัญ คือ กามโรค ไข้ดำแดง ปอดบวม ฝีฝักบัว เยื่อหุ้มสมองอักเสบ คอตีบ ไทฟอยด์ กาฬโรค บาดทะยัก วัณโรค บิด ไอกรน อาหารเป็นพิษ โรคเรื้อน ซิฟิลิส คุดทะราด ฯลฯ
บัคเตรีหลายชนิดทำให้อาหารบูดเน่าเร็ว

สรีรวิทยา

สรีรวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ "เดอะ วิทรูเวียน แมน" (The Vitruvian Man) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ประมาณปี 1487 เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความรู้ด้านสรีรวิทยา
สรีรวิทยา (อังกฤษ: physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี
สรีรวิทยาแบ่งออกเป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่สรีรวิทยาทุกสาขามีหลักการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเซลล์ของมนุษย์ได้
สาขาสรีรวิทยาของสัตว์นั้นหมายรวมถึงเครื่องมือและวิธีการศึกษาสรีรวิทยา ของมนุษย์ซึ่งนำมาใช้ศึกษาในสัตว์ด้วย สาขาสรีรวิทยาของพืชก็สามารถใช้วิธีการศึกษาเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ด้วย เช่นกัน
สาขาวิชาอื่นๆที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิทยา

มนุษย์และสัตว์

สรีรวิทยาของมนุษย์เป็น สาขาวิชาที่ซับซ้อนที่สุดในสรีรวิทยา สาขานี้แบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่างๆซึ่งมีความสอดคล้องกัน สัตว์หลายชนิดมีกายวิภาคคล้ายกับมนุษย์ จึงมีการศึกษาในสาขาเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

กายวิภาค


กายวิภาค (Anatomy)
 หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
วิชา กายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของชีววิทยา ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้าง(Form and structure)ของสิ่งที่มีชีวิต รวมทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิชาสรีระวิทยา
คำว่า Anatomy แยกออกได้เป็น Ana =Apart แปลว่า เป็นชิ้นหรือเป็นส่วนๆ ส่วน Tomy หรือTome=Cutting แปลว่า ตัด ดังนั้น Anatomy เมื่อรวมกันแล้ว จึงหมายถึง การตัดหรือชำแหละออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในการเรียน Gross Anatomy ใช้การชำแหละ (Dissection) ด้วยตาเปล่าเป็นหลัก

ประวัติ
วิชากายวิภาคศาสตร์ได้ มีการศึกษากันมาช้านานแล้ว คือเริ่มตั้งแต่400ปีก่อนคริสตกาล มีนักปรัชญาชาว กรีกชื่อ Aristotle (384-322B.C.) ได้พิมพ์ผลงานทางกายวิภาคศาสตร์ของปลาและสัตว์ขึ้น จากผลงานอันนี้เอง ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์ (Father of Anatomy)ต่อมาได้มีนักกายวิภาคศาสตร์ได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเกี่ยวกับวิชากายวิภาคศาสตร์ขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Claudius Galen ,Andreas Vesalius เป็นต้น Claudius Galenเป็นนักฟิสิกส์ชาวกรีก-โรมัน อยู่ที่กรุงโรมอิตาลี มีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 2 ส่วน Andreas Vesalius ซึ่งเป็นนักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 16 เขาได้ศึกษาค้นคว้าจนทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนถึงการชำแหละ (Dissection) จนได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์สมัยใหม่ (Father of modern anatomy) นอกจากนี้ก็ยังมี Septimus Sisson (1865-1924 )

วัตถุประสงค์
จุด ประสงค์ของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ในสมัยนี้ถือว่าวิชากายวิภาคศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการ เรียนวิชาแพทย์ และเนื่องจากนักกายวิภาคศาสตร์หรือนักชีววิทยารุ่นแรกๆ เป็นชนชาติกรีก ดังนั้นภาษาลาตินจึงเป็นรากศัพท์ทางวิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่
การเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อ
1.เป็นพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์และวิชาอายุรศาสตร์
2.เป็นพื้นฐานของวิชาสรีระวิทยา
3.เป็นพื้นฐานของวิชาสูติศาสตร์ และวิชาโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์
4.เป็นพื้นฐานของวิชาพยาธิวิทยา
5.เป็นพื้นฐานของวิชาตรวจเนื้อและการตัดเนื้อ
6.พวก สถาปนิค ช่างปั้น ช่างเขียน จำเป็นต้องเรียนหรือต้องทราบเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของคน สัตว์ และต้นไม้ เพื่อนำไปปั้นหรือวาดรูป ให้ถูกต้องตามลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
การจำแนกวิชากายวิภาคศาสตร์(Division of Anatomy) วิชากายวิภาคศาสตร์แบ่งออกได้เป็น
1.Microscopic AnatomyหรือHistology หมายถึง การศึกษาโครงสร้างของสัตว์และพืช เป็นรายละเอียดขนาดเล็กๆ โดยใช้กล้องจุลทัศน์(Microscope)
2.Macroscopic AnatomyหรือGross anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างของสัตว์ด้วยตาเปล่า โดยใช้เครื่องมือชำแหละช่วย
3. Embryological หรือ Developmental Anatomyหมายถึงการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิ(Fertilized egg) จนถึงตอนเกิด (Birth)
4.Ultrastructural Anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างต่างๆของสัตว์และพืชให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ซึ่งกล้องจุลทัศน์ธรรมดาไม่สามารถจะมองเห็นได้ ต้องใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็กตรอน (Electron microscope)จึงจะจะสามารถมองเห็นและศึกษารายละเอียดได้
5. Applied Anatomy (กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์) หมายถึงการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อนำเอาไปใช้เกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรค ทางพยาธิวิทยา และทางศัลยศาสตร์
6.Topographic Anatomy หมายถึงการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์โดยศึกษาส่วนหนึ่งของร่างกายสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับอีกส่วนหนึ่ง
7. Comparative Anatomy หมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์แต่ละชนิด
8.Radiographic Anatomy หมายถึงการศึกษากายวิภาคศาสตร์ โดยอาศัย X-ray ช่วย เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ปกติของอวัยวะนั้นๆซึ่งมีความสำคัญมาก
9. Special Anatomy หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอย่างเดียวกัน หรือชนิดเดียวกัน เช่นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของคน (Anthropotomy), การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของม้า(Hippotomy)เป็นต้น
สรีระวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วยการศึกษากายวิภาคและสรีระวิทยา จะต้องอาศัยห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการศึกษาวิชากายวิภาควิทยาในห้องปฏิบัติการ มักใช้วิธี ชำแหละเอาแต่ส่วนของสิ่งมีชีวิต ที่ตายแล้วมาดองไว้ เพื่อไม่ให้เน่า จะได้ใช้ดูร่างกายและลักษณะ ที่อยู่ และส่วนเชื่อมโยงที่อาจเห็นได้ชัด ส่วนวิชาสรีระวิทยานั้นจะต้องทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกกับสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ ตามปกติของร่างกาย และผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ต่อการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการใช้กระแสไฟฟ้า
ความสำคัญในการศึกษา
กาย วิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์(Veterinary Anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้างของ สัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างมากในการนำไปใช้รักษาโรคสัตว์ต่อไป
ในการ เรียนหรือการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยานี้ จะกล่าวถึงส่วนต่างๆและการทำงานของอวัยวะในร่างกาย โดยจัดแบ่งเป็นระบบต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.Osteologyศึกษาเกี่ยวกับโครง กระดูก(Skeleton)รวมทั้งกระดูก(Bone)และกระดูกอ่อน(Cartilage)ด้วย ซึ่งมีหน้าที่พยุงหรือค้ำจุน และป้องกันอวัยวะส่วนอ่อนๆของร่างกายสัตว์
2Myology ศึกษาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและส่วนประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อซึ่งหน้าที่ของ มันฏ้ช่วยทำให้กระดูกและข้อต่อเคลื่อนไหวได้เต็มที่
3.Splanchnology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในทั้งหมดรวมทั้งอวัยวะย่อยอาหาร(Digestive system),อวัยวะหายใจ(Respiratory system),อวัยวะสืบพันธุ์(Reproductive system)และอวัยวะขับปัสสาวะ(Urinary system)เป็นต้น
4. Angiology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะของการไหลเวียนโลหิต รวมทั้งหัวใจ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ เส้นน้ำเหลืองและม้าม
5.Neurologyเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและร่วมมือกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นๆให้ดำเนินไปด้วยดี

สัตวศาสตร์

สัตวบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัตวบาล (Animal Husbandry) หรือ สัตวศาสตร์ (Animal Science) คือ ผู้อภิบาลปศุสัตว์ หรือผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดูสัตว์เลี้ยง จัดเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่รวบรวมองค์ความรู้ในด้านการจัดการฟาร์ม (Farm management) การโภชนาศาสตร์สัตว์(Animal Nutrotion) การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding) การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์(Animal Technology) การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ (Food processing) และการอนุรักษ์ดำรงไว้ของสายพันธุ์สัตว์ นับว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งในการผลิตสัตว์และเลี้ยงดูสัตว์ ให้เจริญเติบโต แข็งแรง ปราศจากโรค และทำให้สัตว์สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้มากพอกับความต้องการบริโภค สัตวบาลเป็นวิชาชีพที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 โดย หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ซึ่งการทำงานของ สัตวบาล จะยึดหลักวิชาการ ในสายวิชาชีพ 5 ประการคือ
  1. การจัดการฟาร์มดี
  2. พันธุ์สัตว์ดี
  3. อาหารดี
  4. การสุขาภิบาลดี
  5. การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ดี
ราชบัณฑิตสถาน ได้บัญญัติศัพท์คำว่า "สัตวบาล" สัตวบาล ความหมาย น. การเลี้ยงและดูแลสัตว์ ; ผู้เลี้ยงและดูแลสัตว์

พฤกษศาสตร์

พฤกษศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
พฤกษศาสตร์ (อังกฤษ: Botany) หรือ ชีววิทยาของพืช (อังกฤษ: Plant Biology) หรือ วิทยาการพืช,พืชศาสตร์ (อังกฤษ: Plant Science) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของชีววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชและการเจริญเติบโต พฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่พืช สาหร่าย และเห็ดรา ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่มต่างๆ การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์เริ่มต้นจากความรู้ที่สืบต่อกันมา จากการจำแนกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ จากความสนใจในเรื่องพืชของบรรพบุรษทำให้ปัจจุบันจำแนกสิ่งมีชีวิตในด้านพฤกษ ศาสตร์มากกว่า 550,000 ชนิดหรือสปีชีส์



ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์

ดังเช่นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พืชก็สามารถศึกษาได้จากหลายแง่มุม ทั้งในด้านโมเลกุล พันธุศาสตร์ หรือชีวเคมี และศึกษาได้ตั้งแต่ระดับออร์แกเนลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต้นพืช ประชากร ไปจนถึงระดับชุมชนหรือสังคมของพืช ในแต่ละระดับเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์อาจสนใจศึกษาได้ทั้งในด้านการจัดหมวดหมู่ (อนุกรมวิธาน) ด้านโครงสร้าง (กายวิภาคศาสตร์) หรือด้านหน้าที่ (สรีรวิทยา) ของส่วนต่างๆ ของพืช
ในอดีตนั้น สิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกจำแนกให้อยู่ในกลุ่มพืชหรือกลุ่มสัตว์ พฤกษศาสตร์จึงครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ในกลุ่ม สัตว์ สิ่งมีชีวิตบางจำพวกซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสาขาพฤกษศาสตร์ไม่ได้ถูกจัดอยู่ ในอาณาจักรพืชมานานแล้วได้แก่ เห็ดรา (วิทยาเห็ดรา) แบคทีเรีย (วิทยาแบคทีเรีย) ไวรัส (วิทยาไวรัส) และสาหร่ายเซลล์เดียว ซึ่งกลุ่มสาหร่ายเซลล์เดียวถูกจัดส่วนหนึ่งของโพรทิสตาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์ยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เห็ดรา ไลเคน แบคทีเรีย และโพรทิสที่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงยังถูกจัดให้อยู่ในวิชาพฤกษศาสตร์เบื้องต้น

การศึกษาพืชมีความสำคัญมากเพราะพืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆ บนโลก พืชสร้างแก็สออกซิเจน อาหาร เชื้อเพลิง และยา ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงกว่ารวมทั้งมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พืชยังดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเป็นแก๊สที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชมีความสำคัญต่ออนาคตของสังคมมนุษย์ดังต่อ ไปนี้
  • การผลิตอาหารให้แก่ประชากรมนุษย์ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น
  • ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต
  • การผลิตยาและวัสดุต่างๆ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บและโรคด้านอื่นๆ
  • ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

การผลิตอาหารให้แก่โลก


อาหารแทบทุกชนิดที่เรารับประทานมาจากพืชอย่างเช่นข้าว ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สาขาวิชาพฤกษศาสตร์เป็นหัวข้อการศึกษาวิจัยที่สำคัญ
ความจริงแล้วอาหารทุกอย่างที่เรารับประทานล้วนมาจากพืช ทั้งโดยตรงจากอาหารหลักจำพวกแป้ง ข้าว รวมทั้งผักและผลไม้ หรือโดยอ้อมผ่านทางปศุสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร ความหมายอีกนัยหนึ่งคือ พืชเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารเกือบทุกห่วงโซ่ หรือที่นักนิเวศวิทยาเรียก ว่า ลำดับขั้นแรกของอาหาร ความเข้าใจในการผลิตอาหารของพืชมีความสำคัญต่อการผลิตอาหารให้แก่คนทั่วโลก และเก็บรักษาอาหารไว้สำหรับอนาคต แต่พืชไม่ได้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกชนิด วัชพืชบางชนิดสร้างปัญหาในการเกษตรกรรม และนักพฤกษศาสตร์ก็พยายามศึกษาเพื่อหาวิธีลดผลกระทบให้น้อยที่สุด
 
เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ จากการศึกษาต้นถั่วลันเตา

ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต

พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมและสะดวกต่อการศึกษากระบวนการพื้นฐานต่างๆของสิ่งมีชีวิต (ตัวอย่างเช่น การแบ่งเซลล์ และการสังเคราะห์โปรตีน) โดยไม่มีปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์ กฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล ก็ถูกค้นพบโดยการศึกษาด้วยวิธีนี้ โดยศึกษาจากการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตา

การผลิตยาและวัสดุต่างๆ

ยารักษาโรคและสารที่มีผลต่อประสาทอย่างเช่น กัญชา คาเฟอีน และนิโคติน ส่วนใหญ่แล้วได้มาจากพืชโดยตรง ตัวอย่างเช่น ยาแอสไพริน ซึ่งสกัดจากสารจากเปลือกของต้นหลิว อาจมีวิธีรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยใช้พืชอีกหลายวิธีที่ยังรอการค้นพบอยู่ เครื่องดื่มที่นิยมอย่างกาแฟ ช็อคโกแลต และชา ก็มาจากพืชเช่นกัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ก็ได้จากการหมักพืชอย่างเช่นข้าวบาร์เลย์ มอลต์ และองุ่น
นอกจากนี้ พืชยังเป็นแหล่งของวัสดุธรรมชาติมากมาย เช่น ฝ้าย ไม้ กระดาษ ลินิน น้ำมันพืช และยาง ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการเพาะปลูกต้นหม่อน และไม่นานมานี้ อ้อยและพืชอื่นๆก็ถูกใช้เป็นแหล่งของเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่นอก
อินเดียโบราณ มีการค้นพบการจำแนกพืชขึ้นเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฤคเวทซึ่ง แบ่งพืชออกเป็น ไม้ต้น ไม้ล้มลุกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และไม้เลื้อย ซึ่งในภายหลังได้ถูกแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 8 กลุ่มในคัมภีร์เวทอาธารวา คือ ไม้ที่กิ่งแผ่กว้าง ไม้ที่ใบเป็นกระจุกและยาว ไม้พุ่ม ไม้ที่แผ่ราบ ไม้ใบเลี้ยงเดี่ยว ไม้เลื้อย ไม้ที่มีกิ่งก้านมาก ไม้ที่มีปุ่มปมซับซ้อน ผลงานทางด้านสรีรวิทยาของพืชที่สำคัญในสมัยอินเดียตอนกลางประกอบด้วย the Prthviniraparyam of Udayana, Nyayavindutika of Dharmottara, Saddarsana-samuccaya of Gunaratna และ Upaskara of Sankaramisra
จีนโบราณ บันทึกรายชื่อพืชและพืชที่นำมาปรุงยามีมาหลังสงครามระหว่างแคว้น (481-221 ก่อนคริสต์ศักราช) แพทย์จีนจำนวนมากตลอดศตวรรษได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการปรุงยา สมุนไพร ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีงานเขียนของคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง และแพทย์จีน จาง จงจิ่งที่มีชื่อเสียงมากในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักวิทยาศาสตร์และรัฐบุรุษ ซูซ่ง และ เฉิน โค่ว ได้รวบรวมวิธีการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพรรวมกับการใช้แร่ธาตุอีกด้วย
กรีกโรมัน ผลงานทางด้านพฤกษศาสตร์ในแถบยุโรปมีมาราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทีโอฟราตัสมีงานเขียนสองเล่มที่สำคัญคือ On the History of Plants และ On the Causes of Plants หนังสือสองเล่มนี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์มากขึ้น นายแพทย์ชาวโรมันเขียนหนังสือรวบรวมการรักษาด้วยสมุนไพรซึ่งเป็นหลักฐาน สำคัญที่แสดงถึงความรู้ทางพฤกษศาสตร์ของกรีกโรมัน

พฤกษศาสตร์สมัยกลาง

อัล ดินาวาริ นักพฤกษศาสตร์ชาวเคอร์ดิช เป็นผู้ก่อตั้งอาหรับพฤกษศาสตร์ ผลงานของเขาคือ หนังสือพืช เขาได้อธิบายถึงลักษณะพืชอย่างน้อย 637 ชนิดและได้อภิปรายเกี่ยวกับพัฒนาการของพืชตั้งแต่การงอกจนกระทั่งตาย อธิบายช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืช การออกดอกและผลของต้นไม้แต่ละชนิด หนังสือ ฮีสทอเรีย แพลนทารัม ของทีโอฟราตัส เป็นข้อมูลที่ใช้อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์ในหลายศตวรรษต่อมา และได้ถูกปรับปรุงขึ้นประมาณปี 1200 โดย Giovanni Bodeo da Stapelio ซึ่งได้เพิ่มข้อคิดเห็นและวาดรูปประกอบ

พฤกษศาสตร์สมัยใหม่


ดาราศาสตร์

ความหมายวิชาดาราศาสตร์

         ดาราศาสตร์ คือ วิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสังเกตและอธิบายธรรมชาติ ของดาวและวัตถุท้องฟ้า ศึกษาต้นกำเนิด วิวัฒนาการ สมบัติทางกายภาพและทางเคมี ของวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในท้องฟ้า เช่น อุปราคา ดาวหาง ดาวตก เป็นต้น

ดาราศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่นักสมัคร เล่น ยังคงมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นพบและเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อาทิ ดาวหาง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวแปรแสง บางคนอาจเข้าใจผิดโดยการนำดาราศาสตร์ไปปะปนกับโหราศาสตร์ หรือคิดว่าสองอย่างนี้เป็นสิ่งเดียวกัน แม้ว่าศาสตร์ทั้งสองจะมีจุดกำเนิดร่วมกัน แต่ปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างมาก นักดาราศาสตร์ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่นักโหราศาสตร์ใช้หลักสถิติทางคณิตศาสตร์ คำนวณความน่าจะเป็น

หมวดหมู่ของดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์ในยุคกรีกโบราณและอารยธรรมอื่นในยุคต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาการวัดตำแหน่งดาว ซึ่งคือการวัดตำแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ในท้องฟ้า ต่อมา งานของเคปเลอร์และนิวตันปูทางไปสู่กลศาสตร์ฟ้า เป็นการใช้คณิตศาสตร์มาพยากรณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลความโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน นับว่านักดาราศาสตร์ในสมัยนั้นต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งเพราะแต่ก่อน ไม่มีเครื่องคิดเลข ปัจจุบันสองสาขานี้อาจแยกกันไม่ออก เพราะสามารถใช้อุปกรณ์วัดตำแหน่งและคอมพิวเตอร์คำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่สนใจได้อย่างง่ายดาย

นับจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดาราศาสตร์อาจแบ่งได้เป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ ดาราศาสตร์สังเกตการณ์ (observational astronomy) และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎี (theoretical astrophysics) โดยมากนักดาราศาสตร์แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แม้ว่าจำเป็นต้องใช้ทั้งสองอย่างในงานวิจัยของตน เพราะแต่ละอย่างต้องอาศัยความชำนาญที่ต่างกัน ดาราศาสตร์สังเกตการณ์เน้นไปที่การเก็บข้อมูล ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้าง/ดูแลรักษาเครื่องมือ และกระบวนการที่นำไปสู่การได้มาของข้อมูลสุดท้ายที่เชื่อถือได้ ส่วนอีกสาขาหนึ่ง คือ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลการสังเกตการณ์ และสร้างแบบจำลองแบบต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์

นอกจากการแบ่งอย่างหยาบข้างต้น เรายังอาจแบ่งดาราศาสตร์ออกเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อที่สนใจหรือข้อปัญหา เช่น การก่อเกิดดาวฤกษ์ จักรวาลวิทยา หรือการแบ่งหมวดตามวิธีการของการเข้าถึงข้อมูล

การแบ่งหมวดตามหัวข้อและข้อปัญหา
  • วิชาวัดตำแหน่งดาว (Astrometry): ศึกษาตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า กำหนดนิยามในการระบุพิกัดและ จลนศาสตร์ของวัตถุในดาราจักรของเรา
  • ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Astrophysics): ศึกษาฟิสิกส์ของเอกภพ รวมถึงสมบัติทางกายภาพ (สภาพส่องสว่าง ความหนาแน่น อุณหภูมิ องค์ประกอบทางเคมี) ของวัตถุทางดาราศาสตร์
  • จักรวาลวิทยา (Cosmology): ศึกษาต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ กล่าวได้ว่าเป็นแขนงที่ใหญ่ที่สุดของฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎี
  • การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร (Galaxy formation and evolution): การศึกษาการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร
  • ดาราศาสตร์ดาราจักร (Galactic astronomy): ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของดาราจักรของเราและดาราจักรอื่น
  • ดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ (Extragalactic astronomy): ศึกษาวัตถุ (ดาราจักรเป็นหลัก) ที่อยู่นอกดาราจักรทางช้างเผือก
  • ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ (Stellar astronomy): ศึกษาดาวฤกษ์
  • วิวัฒนาการดาวฤกษ์ (Stellar evolution): ศึกษาวิวัฒนากรของดาวฤกษ์นับจากเริ่มก่อกำเนิดไปจนถึงอวสานของดาวเหลือเป็นซากดาว
  • การก่อกำเนิดดาวฤกษ์ (Star formation): ศึกษาเงื่อนไขและกระบวนการที่นำไปสู่การก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ คือ สภาพภายในของหมอกแก๊สและกระบวนการของการก่อตัว
  • วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ (Planetary Sciences): ศึกษาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
  • ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology): ศึกษาการมาถึงและวิวัฒนาการของระบบชีววิทยาในเอกภพ
นอกจากนี้ ยังมีหัวข้ออื่นที่อาจนับเป็นส่วนหนึ่งของดาราศาสตร์ ได้แก่
  • โบราณดาราศาสตร์ (Archaeoastronomy)
  • เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry)
การแบ่งหมวดตามวิธีการของการเข้าถึงข้อมูล
ในทางดาราศาสตร์ สารสนเทศส่วนใหญ่ได้จากการตรวจหาและวิเคราะห์โฟตอนซึ่งเป็นการแผ่รังสีแม่ เหล็กไฟฟ้า แต่อาจได้จากข้อมูลที่มากับรังสีคอสมิก นิวทริโน ดาวตก และในอนาคตอันใกล้อาจได้จากคลื่นความโน้มถ่วง

การแบ่งหมวดของดาราศาสตร์แบบดั้งเดิม แบ่งได้ตามการสังเกตการณ์สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านต่าง ๆ คือ
  • ดาราศาสตร์เชิงแสง (Optical astronomy) ใช้อุปกรณ์เฉพาะในการตรวจหาและวิเคราะห์แสงในความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็น ได้ด้วยดวงตามนุษย์ (ประมาณ 400 - 800 นาโนเมตร) เครื่องมือที่ง่ายที่สุด คือ กล้องโทรทรรศน์ และอาจมีเครื่องบันทึกภาพอิเล็กทรอนิกส์ และสเปกโทรกราฟ
     
  • ดาราศาสตร์อินฟราเรด (Infrared astronomy) ตรวจหาและวิเคราะห์การแผ่รังสีอินฟราเรด (ความยาวคลื่นยาวกว่าแสงสีแดง) เครื่องมือที่พบบ่อยที่สุด คือ กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะกับการศึกษาในย่านอินฟราเรด มีการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเพื่อตัดปัญหาสัญญาณรบกวน (การรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า) จากบรรยากาศโลก
     
  • ดาราศาสตร์วิทยุ (Radio astronomy) ตรวจหาการแผ่รังสีในความยาวคลื่นระดับมิลลิเมตรถึงเดคาเมตร เครื่องรับสัญญาณเหมือนกับที่ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณวิทยุ แต่มีความไวต่อสัญญาณมากกว่า ดู กล้องโทรทรรศน์วิทยุ
     
  • ดาราศาสตร์พลังงานสูง (High-energy astronomy) การเก็บข้อมูลวิชาดาราศาสตร์เชิงแสงและดาราศาสตร์วิทยุ สามารถกระทำได้ในหอดูดาวบนพื้นโลก เนื่องจากความยาวคลื่นในย่านนั้นสามารถผ่านทะลุบรรยากาศโลกได้ แต่ไอน้ำดูดกลืนแสงอินฟราเรดได้มาก หอดูดาวในย่านอินฟราเรดจึงต้องอยู่บนที่สูงและแห้งในอวกาศ
บรรยากาศเป็นอุปสรรคสำคัญในการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ในความยาวคลื่นอื่น ๆ ได้แก่ ดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray astronomy) ดาราศาสตร์รังสีแกมมา (gamma-ray astronomy) ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต (UV astronomy) และดาราศาสตร์รังสีอินฟราเรดไกล (Far infrared astronomy) จึงต้องอาศัยบัลลูนหรือหอดูดาวลอยฟ้า อย่างไรก็ตาม รังสีแกมมาพลังงานสูงสามารถตรวจพบได้เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฝนจักรวาล และอาจถือการศึกษารังสีคอสมิก เป็นสาขาหนึ่งของ ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์น่าจะเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุด เพราะนับแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกลๆ ก็ยังเห็นแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเขามาก

ชนเผ่าแรกที่สักการะสังเวยดวงอาทิตย์ อาจจะเป็นชนเผ่าซูเมอเรียน (Sumerians) ผู้สร้างความรุ่งเรืองให้ชาวแบบิโลเนียน (Babylonians) เมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ครั้นมาถึงรัชสมัยพระเจ้าฟาโรห์อัคเฮนตัน (Pharaoh Akhenaton) ราว 1,400 ปีก่อนคริสตกาล ก็ทรงถือดวงอาทิตย์เป็นสุริยเทพ มีการสร้างวิหารอุทิศแด่สุริยเทพด้วย การบวงสรวงดวงอาทิตย์ ยังแพร่ไปถึงชนเผ่าอินคา (Incas) ในเปรู และเผ่าอัซเทก (Aztecs) ในเม็กซิโก

นอกจากนั้น ยังจะต้องมีการสังเกตดวงดาว และปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มาแต่ดึกดำบรรพ์ จึงมีรูปเขียนเป็นหลักฐานไว้ตามผนังถ้ำ รอยสลักบนแผ่นดินเหนียวเผา แผ่นไม้ หรือแผ่นหิน ให้เราได้ใช้เป็นหลักฐานไว้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

ธรณีวิทยา

ธรณีวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์

ธรณีวิทยา(Geology)

แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000
จากเว็บไซต์ : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
ธรณีวิทยาคืออะไร

              ธรณีวิทยา "GEOLOGY" มาจากภาษากรีก คือ "GEO" หมายถึง โลก และ "LOGOS" หมายถึง การบรรยาย รวมความแล้ว ธรณีวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาทางกายภาพและโครงสร้างของโลก ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


โดย ทั่วไปการศึกษาธรณีวิทยาจะเน้นหนักเกี่ยวกับหินและแร่ ตลอดจนกระบวนการที่กระทำต่อหินและแร่ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าธรณีวิทยาเป็นวิชาที่เกี่ยวกับหินและแร่เท่านั้น แต่โดยความจริงแล้ว ธรณีวิทยามีเนื้อหาที่กว้างมาก มีความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ทางชีววิทยาจะเกี่ยวข้องกับการศึกษา ซากดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติ ทางสาขาเคมีจะนำไปใช้ในการศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของหินและแร่ ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เป็นต้น Spiker (1972) ได้ให้คำนิยามว่า "วิทยา ศาสตร์พื้นฐานควรเป็นวิชาที่ครอบคลุมปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติอย่างกว้างขวาง มีความแตกต่างจากวิชาอื่น และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง รวมทั้งต้องเป็นศูนย์กลางของสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง" จากนิยามนี้จะเห็นว่า "ธรณีวิทยา" มีความเหมาะสมที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

นัก วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง คือ "ชาร์ล ดาร์วิน" ได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่อมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาซากบรรพชีวินที่อยู่ในหิน นักสมุทรศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับกระแสน้ำซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งที่ อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน กระแสน้ำอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพอากาศและภูมิอากาศ จะเห็นว่าศาสตร์ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และนักธรณีวิทยายังศึกษาเกี่ยวกับหิมะและธารน้ำแข็ง เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับศาสตร์ทั้งสองข้างต้น วิศวกรจะศึกษาตะกอนที่เกิดจากการทับถม เพื่อเข้าใจถึงคุณสมบัติของตะกอน ถ้าเราศึกษาเกี่ยวกับส่วนที่เรียกว่า "เปลือกโลก" (crust) จะพบว่าเป็นส่วนที่บางมาก หรือเราอาจสงสัยว่าอะไรรองรับภูเขาหรือเทือกเขา และเราอาจประหลาดใจที่ทราบว่าผู้ให้คำตอบนี้ คือ นายพันเอกเอเวอร์เรสต์ และทีมงานสำรวจการทำแผนที่ของอินเดีย ดังนั้นจะเห็นว่า วิชาธรณีวิทยา เป็นการศึกษาร่วมกับอีกหลายๆ สาขาวิชา

คำถามว่า เราศึกษาธรณีวิทยาทำไม? ก็คงมีหลายเหตุผลด้วยกัน เช่น เพราะต้องการใช้เป็นวิชาชีพ หรือสำหรับบางคนก็เพื่อที่จะทราบความเป็นไปเกี่ยวกับโลกที่เขาอาศัยอยู่ หรืออาจเหมือนกับอีกหลายๆ คน ที่ต้องการศึกษาเพราะสนใจสภาพธรณีวิทยาของประเทศ เพื่อทำให้การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากขึ้น

            ดังนั้นวิชาธรณีวิทยาทั่วไป จึงพยายามเน้นถึงความคิดพื้นฐาน และหลักการทางธรณีวิทยามากกว่าที่จะพูดถึงรายละเอียดหรือเจาะจงลงไป จะพิจารณาถึงธรณีประวัติของโลกที่อยู่รอบตัวเรา กระบวนการต่างๆ (process) ที่ทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการต่างๆ รวมทั้งอิทธิพลที่มีต่อความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ นักศึกษาส่วนมากเคยเรียนเรื่องราวเกี่ยวกับธรณีวิทยาในระดับชั้นมัธยม ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
 
รณีวิทยา (อังกฤษ: Geology ) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิววิวัฒนาการของสิ่งมี ชีวิต ตลอดจนรูปแบบและวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีก ด้วย

นักธรณีวิทยาศึกษา พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม

วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

วิชา ธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น
 
วิชาธรณีวิทยาสามารถตอบปัญหาต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของ โลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร์
 
ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ศึกษา ค้นคว้าด้านธรณีวิทยาหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น กรมทรัพยากรธรณี

กรม ทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีการทำงานและการศึกษาด้านธรณีวิทยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) นับจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 117 ปีแล้ว และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 75/10 ถนนพระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
 
 โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย

                ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ(Folded Belt) และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน(Faulte) และมีการแทรกซ้อนของหินแกรนิต ตามช่องว่าง ต่อมาบริเวณรอยคดโค้งเหล่านั้น ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงกดดันทำให้ชิ้นหินบางส่วนกลายเป็นหินแกรนิต เขตทิวเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นภูเขาที่ประกอบด้วยหินชั้นและหินแปรที่เป็นแบบโครงสร้างคดโค้ง (Folded Belt)ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิก 
(Palaozoie) ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินทราย และชั้นหินดินดานของมหายุค พาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) ส่วนบริเวณตามขอบตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช และทิวเขา ภาคตะวันออกจะมีชั้นหินที่มีโครงสร้างโค้งงอ ของมหายุคพาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเป็นแอ่งแผ่นดิน ( Basin ) ขนาดใหญ่เป็นที่สะสมของ ชั้นตะกอน อายุอ่อนคือ ชั้นหินมหายุคซีโนโซอิค ( Cenozoic ) ซึ่งประกอบด้วยชั้นตะกอนของยุคเทอร์เชียรี ( Tertiary ) และตอนบนของชั้นตะกอนเหล่านี้จะถูกปกคลุมทับถมด้วยตะกอน กรวด หิน ของยุคควอเตอร์นารี
( Quaternary )
 
ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
                  ถ้า พิจารณาจากแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของไทยจะเห็นว่า ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขตดังนี้คือ

                   1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้มีลักษณะเป็นทิวเขาภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขามีความสูงชันจากบริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อยๆลาดต่ำลงมาสู่ที่ราบต่ำบริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางแล้วค่อยๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือในเขต จ.น่านคือแถบเทือกเขา หลวงพระบาง บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้และลงสู่ลุ่มน้ำสาละวินทาง ตะวันตก หุบเขาและแอ่งแผ่นดินที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านจะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่ น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานทำให้กลายเป็น แหล่งชุมชนสำคัญของภาค

                  2.เขตที่ราบภาคกลางที่ราบภาคกลางได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมาจากที่สูงโดย รอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ตอนใต้ของภาค ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่งหรือที่เคยเป็นเกาะมาก่อนสันนิษฐานว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาคกลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลงประกอบ กับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลายสายซึ่งมีทั้งการกัดเซาะสึกกร่อนและทับถม พอกพูน จึงทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของ ประเทศ

                3.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตกลักษณะของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขาหุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือและที่ราบไม่กว้างขวางเหมือน ภาคกลาง ภูมิประเทศของเขตนี้ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทางภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาค ใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขาจาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือมายังตะวันออกเฉียงใต้            

               4.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออกลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบลุ่มแม่ น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลางและมีที่ราบชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้นๆไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งและเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วย ป่าไม้และหาดทรายสวยงาม

              5.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ลักษณะแยก จากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัดทั้งนี้เพราะการยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตกและด้านใต้ทำให้เกิดขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวัน ตก ส่วนทางด้านใต้ก็เป็นขอบสูงชันตามแนวทิวเขาสันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพานทอด โค้งยาวค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพานไปทางเหนือมีแอ่งทรุดต่ำของแผ่นดินเรียกว่า แอ่งสกลนคร ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น พื้นที่ราบสูงจะยกตัวสูงทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียงไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก

              6.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้านคืออ่าวไทยทางด้านตะวันออกและ ทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเลที่ลาดลงสู่ทะเล ทั้งสองด้านโดยที่ราบด้านชายฝั่งตะวันออกกว้างขวาง กว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบและยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก
 
ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly)

ทฤษฎี นี้เกิดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่19 จากการศึกษาแผนที่โลกของฟรานซิสเบคอน(Francis Bacon)โดยคาดเดาว่า ทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาหากดันเข้ามาประกอบกัน สามารถเชื่อมต่อกันได้พอดี ต่อมาในปี ค.ศ.1915 อัลเฟรด
เวเก เนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีทวีปเลื่อนว่า เมื่อประมาณ 200 – 300 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินทั้งหมดในโลกรวมเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า “แพงเจีย” (Pangaea : แปลว่า ผืนแผ่นดินเดียวกัน) ซึ่ง ประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้แอฟริกาออสเตรเลียอินเดีย และหมู่เกาะมาดากัสการ์ มากล่าวไว้ โดยกล่าวว่า ในยุคไตรแอสสิก ทวีปที่เดิมเป็นผืนแผ่นเดียวกันจะเริ่มค่อยๆมีการแยกตัวออกจากกัน โดยทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จะค่อย ๆแยกจากทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรปจึงทำให้ขนาดของมหาสมุทรแอตแลนติกกว้างยิ่งขึ้นเราเรียกการ เคลื่อนไหวดังกล่าวว่า“ทวีปเลื่อน” (Continental Drift) และทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปี ค.ศ.1960จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวถึงการที่ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ รวมเป็นแผ่นเดียวกันเรียก ว่า “แผ่นอเมริกา” และมักพบว่าส่วนบริเวณที่เป็นขอบของแผ่นทวีป เช่น แผ่นทวีปแปซิฟิกจะพบแนวการเกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวอยู่เสมอเนื่องจากการ เคลื่อนที่ของแผ่นทวีป(Plate) อยู่ตลอดเวลาสันนิษฐานว่าการเคลื่อนที่ของหินหลอมละลายและกระบวนการพาความ ร้อนภายในโลก เนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความหนาแน่นทำให้เกิดการหมุนเวียนและ แนวความคิดที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์ได้แก่ทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทะเล(Sea Floor Spreading Theory) ที่ กล่าวว่า พื้นท้องมหาสมุทรมีการแยกตัวตามแกนของระบบเทือกเขาทั่วโลก ส่วนของเปลือกโลกที่แยกจะมีการเคลื่อนตัวออกจากกันอย่างช้าๆ 2ด้านทำให้เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการแยกตัวจากกันของทวีปอเมริกาเหนือและได้แยกออกจาก ทวีปยุโรปและแอฟริกา และพบว่าบริเวณแนวเทือกเขากลางมหาสมุทรเป็นรอยแยกของเปลือกโลกที่มีการถ่าย เทความร้อนจากภายใต้เปลือกโลกมายังพื้นผิว รวมทั้งมวลหินหลอมเหลวที่ทำให้เกิดการแยกตัวของพื้นทะเลขึ้น (Sea Floor Spreading) บริเวณรอยแยกของเปลือกโลกใต้ท้องมหาสมุทรมีลักษณะโค้ง และถูกขนาบด้วยหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic Island Arc) ซึ่งเป็นแนวร่องยาวและแคบ โดยมากพบในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น ร่องลึกมาเรียนาโดยจากหลักฐานการเจาะสำรวจทะเลลึกในปี ค.ศ.1968พบว่าการทับถมของตะกอนบริเวณท้องทะเล สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของพื้นทะเล และจากอายุของชั้นตะกอนเหล่านี้แตกต่างกันตามช่วงระยะเวลา คือตะกอนที่อยู่ห่างจากแนวสันเขากลางมหาสมุทร (Mid Ocean Ridge) มีอายุมากขึ้นตามลำดับ โดยตะกอนที่มีอายุมากที่สุดพบใกล้ของทวีป นอกจากทฤษฎีการขยายตัวของพื้นทะเล (Sea Floor Spreading Theory)ที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theory) ยังมีหลักฐานสนับสนุนอื่นๆ อีก เช่น หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบบริเวณสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ฝั่งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาใต้มีลักษณะคล้ายกัน โดยมีช่วงอายุเวลาเดียวกัน หลักฐานทางด้านโครงสร้างทางด้านธรณีวิทยาและชนิดของหิน เป็นชนิดเดียวกัน ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร ที่นำมาต่อกันได้ ทั้งทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาใต้ได้แก่ชนิดหิน คิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) ซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดเพชร
 


การเกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อน
 
ผลกระทบถ้าหากมีการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะแกงซึ่งศึกษาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1914 โดย Brown และ Leicester
 
 
edit @ 29 May 2011 23:26:50 by รุ่งฟ้า คูคงสุข